การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ หากจ่ายเป็นรายเดือนมียอดเท่าๆ กันทุกเดือนจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(1) แต่หากจ่ายเป็นลักษณะเบี้ยประชุมจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(2) ซึ่งรายได้ทั้ง 40(1)(2) จะคำนวณเหมือนกันตาม ม.50(1)
จากคำถาม
บริษัทมีการจ่ายทุกเดือนเป็นหลักพันเท่านั้น ซึ่งหากคำนวณภาษีแล้ว รายได้ที่จ่ายไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายได้
ส่วนกรรมการก็ต้องนำรายได้ดังกล่าว ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยค่ะ
Tag Archives: 40(2)
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “สุพัตรา”
หากจ้างแม่บ้านในนามบุคคลธรรมดาจะถือเป็นรายได้ 40(2) จะคำนวณภาษีหัก ณ
ที่จ่ายตาม ม.50(1) คำนวณเหมือนเงินเดือน
ซึ่งถ้าคำนวณแล้วไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ไม่ต้องหัก แต่ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
ก็ต้องแจ้งเป็น 40(8) ค่าบริการค่ะ
กรณีแม่บ้านที่สังกัดบริษัทฯ เราจ่ายค่าทำความสะอาดให้บริษัท ก็จะหักภาษี ณ
ที่จ่ายตาม ม.3เตรส 3% ถือเป็นรายได้ 40(8)ค่าบริการ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “อิศรีย์”
ขอสอบถามเรื่อง WHT ค่ะ คือตอนนี้ให้ปรับ WHT จาก3% เหลือ1.5% ในม.40(2) ในกรณีนี้จะต้องปรับลดไหมค่ะคือ บ. ได้จ้างพนักงานชั่วคราว outsource สัญญา 1 ปี ไม่มีประกันสังคม มีการกำหนดเวลา, วันหยุด, หน้าที่การทำงาน, ข้อบังคับ ไง้อย่างชัดเจน มีOT แบบนี้จะเป็น 40(1) ใช่ไหมค่ะ จะต้องหัก 3% เหมือนเดิม?/ ขอบคุณค่ะ
คำตอบ:
กรณี บุคคลธรรมดาที่ได้ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ค่าวิชาชีพอิสระ
ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ รางวัล ส่วนลด หรือ ประโยชน์จากการส่งเสริมการขาย
กรณี ที่เป็นรายได้ประเภท 40(1)-(2) นั้นไม่ได้ลด จะหักตาม ม.50(1) ตามเดิม
จากคำถาม มีการจ่ายเงินจ้างเป็นรายเดือนมีสัญญาจ้างเป็นเวลา 1 ปี
ถือเป็นรายได้ประเภท 40(2) ก็ให้คำนวณตาม ม.50(1) คือ คำนวณเหมือนเงินเดือน
แต่ต่างกันตรงที่ต้องดูว่าในปีภาษีนั้นๆเขาได้รับเงินกี่เดือนก็ตามนั้นนะคะไม่ใช่หัก
3% ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “เขมิสรา”
ค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวว่าถื
1. จ่ายค่าเบี้ยประชุมให้กรรมการซึ่
2. จ่ายค่าเบี้ยประชุมให้กรรมการ ที่ไม่ใช่เป็นพนักงานของบริษัท (มีทั้งจ่ายประจำ และไม่ประจำทุกเดือน)
คำตอบ:
1.ค่าเบี้ยประชุมที่จ่ายให้กรรมการที่เป็นพนักงานบริษัท เป็นเงินได้ 40(1)
2.ค่าเบี้ยประชุมที่จ่ายให้กรรมการที่ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท เป็นเงินได้ 40(2)
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ณัฏฐา”
นาย ก. รับจ้างทำงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก จากบริษัทแห่งหนึ่ง แต่ได้มีการแบ่งงานบางส่วนให้ นางสาว ข. ซึ่งเป็นฟรีแลนซ์ทำ และแบ่งเงินกันตามตกลง และได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%ไว้แล้ว
เมื่อบริษัทจ่ายเงิน ก็ออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ในชื่อนาย ก.
ต้องการสอบถามว่า นางสาว ข. เมื่อยื่นภาษี สามารถให้นาย ก. ออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ในชื่อ นางสาว ข. ได้หรือไม่
แล้วนาย ก. เมื่อยื่นภาษี รายจ่ายที่จ่ายให้นางสาว ข. สามารถนำมาหักจากรายได้รวม ได้เลยหรือไม่ จำเป็นต้องใช้เอกสารอะไรเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นภาษีบ้าง
คำตอบ:
นาย ก. เป็นบุคคลธรรมดาเมื่อจ่ายเงินได้ ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น นาย ก. จึงหัก ณ ที่จ่ายและออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้ค่ะ รายได้ทั้งหมดจะเป็นของนาย ก.
ถ้านาย ก.ต้องการนำรายจ่ายที่จ่ายให้นส. ข. มาหักออกจากรายได้ของตนเองในการคำนวณภาษีตอนสิ้นปีนั้น ก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะรายได้ประเภทนี้เป็นรายได้ประเภท 40(2) ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้อย่างเดียวเท่านั้นคือ หักได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาทค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “วราภรณ์ ศรีเพ็ชร”
อยากทราบว่า กรณีบริษัทฯยื่น ภงด.1 ในพนักงาน ในกรณีจ่ายเงินเดือนทุกเดือนอยู่เเล้ว ในเงินได้ 40(1) เเต่พอสิ้นปีมีเงินได้ของพนักงานเพิ่มขึ้น คือ 40(2) ซึ่งต้องกรอก เเบบยื่นคนละเเผ่นกับเเบบยื่นเงินเดือน อยากทราบว่าตอนยื่นเสียภาษีผ่าน Internet ต้องยื่นยังไง
(เเต่ลองทำดูเเล้ว โปรเเกรมไม่อนุญาติให้ยื่นรวมกัน) ซึ่งต้องยื่นใบเเสดงเงินเดือนเป็นเเบบยื่นปกติก่อน ส่วนรายได้อื่น ๆ ของพนักงานต้องยื่นเเบบเพิ่มเติม มีข้อสงสัยว่าถ้าเรายื่นเพิ่มเติมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกไหม แล้วต้องทำยังไงค่ะ
ขอบคุณค่ะ
คำตอบ:
พนักงานบริษัทที่มีเงินเดือนประจำ และได้รับค่านายหน้า หรือประโยชน์เพิ่มอื่นๆ ให้ถือรายได้เหล่านั้นเป็นรายได้ 40(1) ด้วยค่ะ