การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ หากจ่ายเป็นรายเดือนมียอดเท่าๆ กันทุกเดือนจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(1) แต่หากจ่ายเป็นลักษณะเบี้ยประชุมจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(2) ซึ่งรายได้ทั้ง 40(1)(2) จะคำนวณเหมือนกันตาม ม.50(1)
จากคำถาม
บริษัทมีการจ่ายทุกเดือนเป็นหลักพันเท่านั้น ซึ่งหากคำนวณภาษีแล้ว รายได้ที่จ่ายไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายได้
ส่วนกรรมการก็ต้องนำรายได้ดังกล่าว ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยค่ะ
Tag Archives: 40(1)
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “เขมิสรา”
ค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวว่าถื
1. จ่ายค่าเบี้ยประชุมให้กรรมการซึ่
2. จ่ายค่าเบี้ยประชุมให้กรรมการ ที่ไม่ใช่เป็นพนักงานของบริษัท (มีทั้งจ่ายประจำ และไม่ประจำทุกเดือน)
คำตอบ:
1.ค่าเบี้ยประชุมที่จ่ายให้กรรมการที่เป็นพนักงานบริษัท เป็นเงินได้ 40(1)
2.ค่าเบี้ยประชุมที่จ่ายให้กรรมการที่ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท เป็นเงินได้ 40(2)
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “Mashi”
สอบถามเรื่องค่าตอบแทนกรรมการ
ทางบริษัทจ่ายค่าตอบแทนกรรมการท่านี้ทุกเดือนๆละเท่าๆกันและนำส่ง ภงด .1 ในแต่ละเดือนโดยหัก ณ ที่จ่าย 10%
อยากทราบว่าทำไมต้องหัก 10%
เพราะค่าตอบแทนกรรมการอยู่ใน 40(2) ไม่ใช่คิดอัตราก้าวหน้า หรอคะ
คำตอบ:
การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการที่เข้ามาทำงานให้บริษัทเป็นประจำทุกเดือนๆละเท่าๆกัน ถือเป็นเงินได้ประเภท 40(1) ยื่น ภ.ง.ด.1 และการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายก็ให้คำนวณตาม มาตรา.50(1) คือ คำนวณเหมือนเงินเดือนเลยค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “วราภรณ์ ศรีเพ็ชร”
อยากทราบว่า กรณีบริษัทฯยื่น ภงด.1 ในพนักงาน ในกรณีจ่ายเงินเดือนทุกเดือนอยู่เเล้ว ในเงินได้ 40(1) เเต่พอสิ้นปีมีเงินได้ของพนักงานเพิ่มขึ้น คือ 40(2) ซึ่งต้องกรอก เเบบยื่นคนละเเผ่นกับเเบบยื่นเงินเดือน อยากทราบว่าตอนยื่นเสียภาษีผ่าน Internet ต้องยื่นยังไง
(เเต่ลองทำดูเเล้ว โปรเเกรมไม่อนุญาติให้ยื่นรวมกัน) ซึ่งต้องยื่นใบเเสดงเงินเดือนเป็นเเบบยื่นปกติก่อน ส่วนรายได้อื่น ๆ ของพนักงานต้องยื่นเเบบเพิ่มเติม มีข้อสงสัยว่าถ้าเรายื่นเพิ่มเติมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกไหม แล้วต้องทำยังไงค่ะ
ขอบคุณค่ะ
คำตอบ:
พนักงานบริษัทที่มีเงินเดือนประจำ และได้รับค่านายหน้า หรือประโยชน์เพิ่มอื่นๆ ให้ถือรายได้เหล่านั้นเป็นรายได้ 40(1) ด้วยค่ะ