เมื่อมีรายได้เข้าบัญชีถึงขั้นที่ธนาคารต้องส่งยอดให้กรมสรรพากรตรวจสอบนั้น แนะนำให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ฯให้ครบถ้วนและถูกต้อง จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องภาษีในภายหลัง จากคำถามคุณเป็นพนักงานรายเดือนด้วย ก็ต้องนำเงินเดือนทั้งปีมารวมคำนวณภาษีด้วยค่ะ
Tag Archives: ภาษี
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ใหญ่”
รายได้ส่วนที่เหลือ 40% หลังจากหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา 60% แล้วนั้น ก็จะนำไปหักค่าลดหย่อนต่างๆ ที่ใช้สิทธิได้ตามกฎหมาย ซึ่งจะไม่มีการแจกแจงว่ามีกำไรหรือไม่? ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “itthichai chongkanjana”
พี่สาวขายบ้านได้ เงินค่าบ้านที่ขายไปนั้น เค้าจ่ายเป็น cashier check หลายฉบับ แต่ฉบับหนึ่งเป็นชื่อผม ผมเลยไม่แน่ใจว่า ผมต้องเสียภาษีด้วยหรือเปล่า เพราะว่าการซื้อขายนั้นมีการจ่
คำตอบ:
ถ้าโฉนดบ้านที่ขายเป็นชื่อของพี่สาว ผมก็ไม่ต้องเสียภาษีครับ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ธณิชชานนท์ บุญปลูก”
คือ ปกติเดือนนี้ ไม่มีการจ่ายภาษี แต่ทำผิด จ่ายไป 4000 กว่าบาท ทำไงดี ขอคืนได้มั้้ย…
คำตอบ:
จากคำถามไม่ทราบได้ว่าจ่ายภาษีอะไร จึงไม่สามารถตอบคำถามได้ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “MK”
บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ เข้ามาประกอบการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้กับหลายบริษัทในประเทศไทย จนมีเงินได้ในประเทศไทย และบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ได้มอบให้คนในประเทศไทยที่ทำงานอยู่สำนักงานทนายความเป็นตัวแทนจัดการเกี่ยวกับเรื่องภาษี แต่บริษัทนี้ก็ไม่ยอมเสียภาษีจึงถูกกรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษี รวมทั้งคนไทยที่ทำงานสำนักงานทนายความด้วย ดังนี้ใครจะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทย
คำตอบ:
ผู้ทำการแทนในประเทศไทยต้องรับผิดชอบค่ะ เพราะสรรพากรคงไม่ไปตามบริษัทในต่างประเทศ ดังนั้นผู้ทำการแทนในไทยต้องทำให้ถูกต้อง ไม่ควรไปทำตามเขาในทุกเรื่อง ซึ่งเราจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในเรื่องภาษีที่จะตามมาถึงตัวเราด้วยค่ะ ซึ่งคุณก็อาจติดตามทวงถามค่าภาษีจากบริษัทต่างประเทศนั้นก็ได้ (ถ้าคุณตามได้)
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “นวล”
มีคำถามเกี่ยวกับยกเว้นและลดอัตราภาษีสำหรับ SME ที่เข้าโครงการบัญชีเดียว
1. ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2559
2. ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2560 กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท เก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ
เนื่องจากรอบบัญชีของ หจก.
เป็นรอบดังนี้ 24 ธ.ค.2558- 24 ธ.ค. 2559 ตอนต้นปีจะยื่นภาษีของปี 58 เกิดข้อสงสัยว่าในการที่จะได้สิทธิประโยชน์ในข้อ 1 นั้น หจก.ต้องเป็นภาษีในปีใหน เพราะวันที่ก้ำกึ่งกันอยู่ ตามราชกิจจานุเบกษา ต้องเป็นรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2559 ขอช่วยให้ความกระจ่างด้วยค่ะ จะได้วางแผนภาษีให้ถูกต้อง
คำตอบ:
การได้รับสิทธิยกเว้นและลดอัตราภาษี ดังนี้
-รอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.59 – 31 ธ.ค.59 ยกเว้นกำไรสุทธิทั้งจำนวน
-รอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.60 – 31 ธ.ค.60 ยกเว้น 3 แสนบาทแรก ส่วนที่เกินเสียภาษี 10%
จากคำถาม หจก.มี รอบบัญชี 24 ธ.ค.58 – 23 ธ.ค.59 จะเห็นได้ว่า รอบบัญชีไม่ใช่รอบบัญชีที่ เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.59 – 31 ธ.ค.59 ดังนั้นรอบนี้จะไม่ได้สิทธิ รอบที่จะได้สิทธิของหจก.คือ
-รอบบัญชี 24 ธ.ค.59 – 23 ธ.ค.60 ได้ยกเว้นกำไรสุทธิทั้งจำนวน
-รอบบัญชี 24 ธ.ค.60 – 23 ธ.ค.61 ได้ยกเว้น 3 แสนบาทแรก ส่วนที่เกินเสียภาษี 10%
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “รัตน์ฐาภัทร”
ทำลดหนี้ไว้เดือน 10 สามารถนำมายื่นภาษีเดือน 11 ได้ป่าวค่ะ เดือน 10 ไม่ได้นำมายื่น
คำตอบ:
ทั้งใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ ออกเดือนไหน ก็จะต้องยื่นในเดือนภาษีนั้น จะนำไปยื่นในเดือนภาษีอื่นไม่ได้ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ฝน”
คำถาม (Thursday, 14-11-13 10:23)
มีใบขายค้างของเดือน 9/56 ต้องยื่นแยกใช่ไหมค่ะ และยื่นแบบไหน ทำยังไงค่ะ พอดีต้องจัดการทุกอย่างเองหมดเลยค่ะ
คำตอบ:
ต้องทำแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือน 9/56 ยื่นเพิ่มเติมเพื่อนำส่งภาษีขายที่ยื่นไว้ขาด โดย
กรอกยอดขายที่ค้างยื่นลงแบบใน ข้อ(1.1) ยอดขายแจ้งไว้ขาด และข้อ 4. ยอดขายที่ต้องเสียภาษี
กรอกภาษีขายที่ค้างลงแบบใน ข้อ 5. ภาษีขายเดือนนี้ ข้อ 8. ภาษีที่ต้องชำระเดือนนี้ และข้อ 11. ต้องชำระ
พร้อมกับคำนวณเงินเพิ่มใน ข้อ(1.1) และเบี้ยปรับในข้อ 12. ด้วย
ส่วนวิธีการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น ให้เปิดดูได้ใน Website/Case Study ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “สุทธภา”
คำถาม (Wednesday, 13-11-13 08:24)
ใบกำกับภาษี ค่าบริการ ของเดือน 7/56 มียอดก่อนภาษี 1682.24 ภาษีซื้อ 117.76 ซึ่งได้รับใบกำกับภาษีเมื่อเดือน 11/56 ตอนที่ได้รับค่าบริการไม่ได้ออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งส่งมาให้ภายหลัง ซึ่งเป็นค่าล้างแอร์เติมน้ำยาแอร์ ตอนที่เข้ามาบริการไม่ได้แจ้งว่าเป็นค่าบริการและค่าของเท่าไหร่ ตอนที่ได้รับเอกสารปรากฎว่าออกเป็นค่าบริการมาทั้งจำนวน และไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้จะต้องทำอย่างไร ถ้าไม่นำส่งภาษีหัก ณ จ่ายได้หรือไม่ บันทึกเป็นค่าบริการและเงินสดทั้งจำนวนได้หรือไม่
ขอบคุณค่ะ
คำตอบ:
การจ่ายเงินได้สำหรับค่าบริการ จะต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% ของยอดก่อน VAT กรณีนี้ก็ต้องทำหักย้อนหลังแล้วนำส่งให้ถูกต้อง
กรณียื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติมก็เสียเฉพาะเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนเท่านั้น เบี้ยปรับไม่มี
นอกจากว่าเดือน 7/56 ไม่มีแบบ ภ.ง.ด. 3 หรือ ภ.ง.ด.53 ยื่นไว้ ก็จะถือเป็นการยื่นแบบปกติที่เกินกำหนดเวลาต้องเสียค่าปรับอาญา 200 บาท
ส่วนที่จะบันทึกเป็นค่าบริการทั้งจำนวนนั้น ไม่ได้ค่ะ อีกอย่างเดือนนี้ก็ยังใช้ภาษีซื้อได้อยู่นิคะ เพราะภาษีซื้อเดือน 7/56 สามารถใช้ได้ในเดือน 8/56 – 1/57 โน่นค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ภัทรลฎา”
เนื่องจากยื่นยอดขายขาด และยื่นเพิ่มเติมจะต้องเสียเงินเพิ่มประมาณ 1 แสนกว่าๆ อยากสอบถามว่า
1.บริษัทมีเครดิตภาษีอยู่แล้วสามารถนำมาหักยอดเงินเพิ่มนี้ได้หรือเปล่า
2.ถ้าบริษัทจะให้พนักงานบัญชีของบริษัทรับผิดชอบยอดเงินเพิ่มดังกล่าวจะทำได้หรือไม่
คำตอบ:
1. ถ้าเป็นยอดภาษีซื้อที่เหลือยกยอดมาจากเดือนก่อน จะนำมาใช้สำหรับการยื่นแบบเพิ่มเติมไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะกับการยื่นแบบปกติในเดือนถัดไปเท่านั้น
2. โดยปกติก็ไม่มีใครทำกันหรอก อย่างเก่งก็โดนด่าเท่านั้นเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็ลาออกไปหางานใหม่ดีกว่า เพราะคงรับไม่ไหวแน่ เงินเป็นแสน
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “lek”
1. ในกรณีที่บริษัทซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อเป็นสินค้าตัวอย่าง บาง Shipment เป็นสินค้าตัวอย่างทั้งหมด บาง Shipment รวมสินค้าตัวอย่างและสินค้าที่ขายให้ลูกค้าด้วย จะบันทึกบัญชีอย่างไรคะ และต้องนำส่งภาษีหรือไม่ ซื้อสินค้าตัวอย่างในประเทศบันทึกเหมือนกันหรือไม่
2. การที่เอาสินค้าที่มีอยู่ไปเป็นสินค้าตัวอย่าง บันทึกบัญชีอย่างไร ภาษีทำอย่างไร
ขอบคุณมากนะคะ
คำตอบ:
1. กรณีของสินค้าตัวอย่างนั้นควรบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย ครับโดยการ
Dr. ค่าใช้จ่ายในการขาย (เฉพาะสินค้าตัวอย่าง)
ซื้อสินค้า (สินค้าที่ซื้อมาเพื่อจำหน่าย)
ภาษีซื้อ (ที่จ่ายตอนเดินพิธีการ)
Cr. เจ้าหนี้การค้าอย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าตัวอย่างนั้น อาจได้รับยกเว้นภาษีขายหากเข้าเงื่อนไขคือ เป็นสินค้าที่แจกให้กับผู้บริโภคโดยตรง (แจกให้ตัวแทนจำหน่ายเพื่อไปแจกต่อไม่ได้) และต้องแจกให้ลูกค้าทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ
2. สำหรับกรณีที่มีสินค้าอยู่แล้ว และนำไปเป็นสินค้าตัวอย่างนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราใช้ระบบการบันทึกรายการแบบใด
กรณี Periodic นั้น การเบิกใช้สินค้าจะไม่ถูกบันทึกรายการ แต่จะปรับปรุงสินค้าทุกสิ้นเดือนดังนั้น รายการที่เกี่ยวข้องจะบันทึกตอนสิ้นเดือนโดย
Dr. ค่าใช้จ่ายในการขาย
Cr. ต้นทุนขายกรณี Perpetual นั้น จะบันทึกรายการโดย
Dr. ค่าใช้จ่ายในการขาย
Cr. สินค้าสำหรับประเด็นภาษีนั้นเหมือนที่ตอบก่อนหน้าครับ การแจกสินค้าตัวอย่างนั้นอาจได้รับยกเว้นภาษีขาย เมื่อการแจกเข้าเงื่อนไขที่กำหนดครับ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “กุญช์รชา สุเดชะ”
คำถาม (Thursday, 26-09-13 17:32)
กรณีที่เราออกใบลดหนี้ซ้ำกัน คือ เอกสารเคลมเลขที่1 ออกใบลดหนี้เป็นของเดือน8ไว้แต่ไม่ได้ทำการปริ้น และออกเป็นเดือน9 ซืึงลูกค้าก็รับเอกสารที่เดือน9 แต่เดือน 8 เรายื่น ภพ.30 ไปแล้ว จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้างคะ
คำตอบ:
กรณีนี้ผิดที่เรา เราก็ควรยกเลิกของเดือน 8 แล้วยึดเอาเดือน 9 ตามที่ส่งให้ลูกค้า
ดังนั้นเดือน 8 จะทำให้เรายื่นยอดขายและภาษีขายขาดไป ก็ให้ทำแบบ ภ.พ.30 เดือน 8 ยื่นเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
ส่วนที่ออกเดือน 9 ก็นำมายื่นใหม่ยังทันอยู่ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “เข็ม”
กรณีแจ้งยอดขายไว้ขาดและแจ้งยอดซื้อไว้ขาด(ยื่นเพิ่มเิติม)ภายในกำหนด เวลาโดยที่ภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมอีกหรือเปล่าค่ะ
คำตอบ:
กรณีที่ยื่นเพิ่มเติม ภายในกำหนดเวลา ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
กรณีนี้ก็ขอคืนภาษีซื้อที่เกินไปนั้น จะยกยอดไปใช้ในเดือนถัดไปไม่ได้ อย่าลืมเซ็นชื่อในช่องการขอคืนภาษีด้วยนะคะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “เจน”
สามีดิฉันเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่รับเหมาเฉพาะค่าแรง ทางบริษัท ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ทุกงวด 14 วัน งวดงานประมาณ 180,000 บาท/งวด ตั้งแต่เดือน ม.ค.56 ถึง ณ ปัจจุบัน ส.ค.56 ค่าจ้างประมาณเกือบ 2 ล้านแล้วค่ะ ไม่ได้ทำสัญญาจ้างงาน สามีดิฉันต้องยื่น ภงด.90สิ้นปี ในมาตราที่เกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้างได้ไหมค่ะ เพราะยอดรายได้เยอะมากกับที่ต้องจ่ายค่าแรงคนงาน แต่เอาชื่อสามีเป็นผู้เบิกงวดเพียงคนเดียว จะมีผลต้องได้เสียภาษีเพิ่มหรือไม่ ดิฉันกับสามีกลุ้มใจมากค่ะ เพราะไม่มีความรู้เรื่องภาษีเลยค่ะ
คำตอบ:
กรณีบุคคลธรรมดารับเหมาก่อสร้างเฉพาะ ค่าแรงนี้ ถือเป็นรายได้ 40(8) ซึ่งต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะหักเหมา 70% ตามรายได้ 40(7) ไม่ได้เพราะ 40(7) นั้นเป็นการรับเหมาทั้งค่าของและค่าแรงด้วย
กรณีของคุณนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็จะเป็นค่าแรงคนงานและค่าน้ำมันรถฯลฯ ดังนั้นคุณก็ต้องจัดทำบัญชีการจ่ายค่าแรงคนงานในแต่ละงวด และค่าน้ำมันรถก็ต้องขอใบเสร็จจากปั้มด้วยในนามของคุณสามี (ขอใบเสร็จที่ไม่ใช่กระดาษความร้อนเพราะนานๆเข้าตัวหนังสือมันจะเลือนหายไป จะใช้เป็นหลักฐานไม่ได้) รวบรวมหลักฐานมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีตอนยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90
ส่วนการที่จะมีภาษีเสียเพิ่มหรือไม่นั้น ก็ต้องคำนวณดูค่ะว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายจริงแล้วจะเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?
อย่าลืม! ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายใน 30 กันยายน 2556 ด้วยนะคะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ตุลยา”
ถ้าเราไม่อยากถูกเรียกเสียภาษีย้อนหลังเราควรทำไงดีคะ
คำตอบ:
ยังไงๆ ก็ต้องโดนเรียกตรวจสอบอยู่แล้วค่ะ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
แต่ก็อาจจะพอยืดเวลาให้ช้าหน่อยได้ ก็ตอนยื่น ภ.ง.ด.50 ในหน้า 2 อย่ากรอกให้มียอดภาษีที่ชำระไว้เกิน ซึ่งถ้ามียอดชำระเกินและขอคืนภาษีจะถูกเรียกตรวจสอบทันทีเลยค่ะ