การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ หากจ่ายเป็นรายเดือนมียอดเท่าๆ กันทุกเดือนจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(1) แต่หากจ่ายเป็นลักษณะเบี้ยประชุมจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(2) ซึ่งรายได้ทั้ง 40(1)(2) จะคำนวณเหมือนกันตาม ม.50(1)
จากคำถาม
บริษัทมีการจ่ายทุกเดือนเป็นหลักพันเท่านั้น ซึ่งหากคำนวณภาษีแล้ว รายได้ที่จ่ายไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายได้
ส่วนกรรมการก็ต้องนำรายได้ดังกล่าว ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยค่ะ
Tag Archives: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “คนสวย”
จากคำถาม คนต่างชาติน่าจะเป็นพนักงานของบริษัท ซึ่งบริษัทเป็นผู้จ่ายค่าที่พักและค่าเช่ารถให้
1) บริษัทจ่ายค่าเช่าคอนโดให้แก่บุคคลธรรมดา เดือนละ 30,000 บาท แต่ผู้ให้เช่าไม่ยอมให้บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่าย มีวิธีแก้คือ บริษัทออกภาษีแทนผู้ให้เช่าเลย แต่การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะต้องเป็นแบบ (2)ออกให้ตลอดไป โดยคำนวณดังนี้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 30,000 x 5/95 = 1,578.95 บาท
2) บริษัทจ่ายค่าเช่ารถรายเดือนๆละ 10,000 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 10,000 x 5% = 500 บาท
กรณีที่คนต่างชาติเป็นพนักงานของบริษัท ประโยชน์เพิ่มทั้ง 2 อย่างให้ถือเป็นรายได้ประเภท 40(1) ของพนักงานต่างชาติด้วยค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “Van”
อยากทราบว่า กรณีนี้ต้องเสียภาษีเงินได้
จากคำถาม เงินได้เกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย
จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “Siri”
1. บันทึกค้างจ่าย M.12/63 จะตีเช็คจ่าย M.2/64 จะต้องหัก ณ ที่จ่ายนำส่งแบบ ภงด.1 วันที่ 7/3/64 ถูกต้องมั้ยคะ
2. ผู้รับเงิน จะต้องนำเงินได้ที่เพิ่งได้รับ M.2/64 นี้ไปยื่นรวมในแบบ ภงด.91 ว่าเป็นเงินได้ปี 64 ถูกต้องมั้ยคะ
ขอบพระคุณมากๆค่ะ
คำตอบ:
1.ภ.ง.ด.1 จะเป็นเดือน 2/64 และนำส่งภายใน 7/3/64
2.ผู้รับเงิน จะถือเป็นเงินได้เดือน 2/64 ซึ่งถือเป็นเงินได้ปีภาษี 2564
เพราะบุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้ในปีภาษีใด ให้ถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้นค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “กรกร”
กรณีหน่วยงานให้ทุนการศึกษา แก่พนักงานของหน่วยงาน เพื่อศึกษาในหลักสูตรที่หน่
คำตอบ:
ไม่ต้องบันทึกเป็นรายได้
เพราะถือว่าเป็นการจัดอบรมให้พนักงานของหน่วยงานเอง
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “สุรีย์พร ศรีบุณยาภิรัต”
รบกวนด้วยค่ะ ไม่ไดยื่นภาษีมาตั้งแต่ปี 57 58 59 มีจ่ายภาษีเพิ่มช่วง3 ปีนั้นไม่ไดมีเจตนาจะไม่จ่ายแต่
คำตอบ:
จากคำถามน่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช่มั้ยคะ?
ไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่สรรพากรก็ได้ค่ะ ทำแบบแล้วยื่นที่สรรพากรพื้นที่เองเลย
ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มดังนี้
1.ค่าเบี้ยปรับอาญา ที่ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลาแบบ ละ 200 บาท (อายุความ
1 ปี)
2.เงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
ส่วนเรื่องผ่อนชำระ
1.ถ้าเงินภาษีที่จ่ายเกิน 3,000.- บาท เรามีสิทธิขอผ่อนได้เลย 3 งวด
2.แต่ถ้ายอดเงินเยอะมากต้องการผ่อนยาวกว่านั้น
ก็เอาแบบภ.ง.ด.นั้นไปขอผ่อนที่สรรพากรพื้นที่ๆ
เราไปยื่นแบบได้เลยสรรพากรพื้นที่มีอำนาจพิจาณาเรื่องผ่อนให้ได้ค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “สิรินทร์รัตน์ สุขสันเทียะ”
โจแอนเป็นชาวอังกฤษเข้
คำตอบ:
ชาวต่างชาติที่มีเงินได้ในไทย
และครอบครัวทั้งหมดตามคำถามอยู่ในต่างประเทศไม่มีสิทธินำมาหักลดหย่อน
จะหักลดหย่อนได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวทั้งหมดเข้ามาอยู่ในไทยค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ ” เอ”
หากบุคคลธรรมดาได้รับส่วนแบ่งกำไร (เงินปันผล) จากห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 โดยไม่รวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาและไม่ใช้เครดิตเงินปันผลได้หรือไม่ค่ะ ถ้าบุคคลธรรมดาไม่ใช้เครดิตเงินปันผล ยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ตต้องกรอกรายละเอียดในเอกสารหรือทำเช่นไร หรือเลือกทำเครื่องหมายช่องไหนเป็นพิเศษค่ะ
คำตอบ:
ผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทยมีสิทธิเลือกว่าจะนำมารวมคำนวณเสียภาษีด้วยหรือไม่ก็ได้
เมื่อเลือกที่จะไม่นำมารวมแล้ว ก็ไม่ต้องกรอกอะไรเลยค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “นัท”
ต้องการขายอะไหล่เป็นประเภทอุปกรณ์อิเลคทรอนิค ผมไม่ได้จดทะเบียนบริษัทใดๆ เป็นแค่บุคคลธรรมดา สามารถทำหักภาษีที่จ่ายในตอนขายได้ไหมครับ เป็นภาษีประเภทไหน เอกสารมีอะไรบ้าง
คำตอบ:
บุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายเงินได้ จากคำถาม ถามถึงตอนขายสินค้า ซึ่งตอนรับเงินได้จะไม่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
แต่บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากการขายสินค้า มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง คือ กลางปียื่น ภ.ง.ด.94 และสิ้นปียื่น ภ.ง.ด.90
ที่สำคัญถ้ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะคะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “ฝ้าย”
สวัสดีค่ะ สอบถามเรื่องการรับงานฟรีแลนด์ อาชีพ Digital Planner
รายละเอียดงาน : จะเป็นการวางแผนซื้อสื่อต่างๆทางออนไลน์ให้กับแบรนด์ เราวางแผนส่งให้เอเยนซี่ เมื่อขายลูกค้าผ่านแล้ว จำเป็นต้องเอาเงินของเราไปซื้อสื่อต่างๆเองก่อน
พอจบงานถึงจะได้รับเงินเป็นก้อนใหญ่มา (มีการบวกค่าทำงานอยู่ในก่อนนี้)
ในกรณีนี้ อยากสอบถามว่าเราจะต้องยื่นภาษียังไง ให้เห็นว่าเงินที่ได้มา มีค่าใช้จ่ายด้วยค่ะ
และการที่บุคคล ไปซื้อสื่อในนามบริษัท เมื่อบริษัทมาวางบิลกับเรา เราจะจ่ายเค้ายังไง เพราะมีเรื่องหักภาษีด้วยรึป่าวคะ
รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
คำตอบ:
จากคำถามผู้รับทำงานน่าจะเป็นบุคคลธรรมดา และงานน่าจะมีทั้งรับออกแบบงานและซื้อสื่อที่จะนำงานไปลงด้วย
กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา จะหักค่าใช้จ่ายได้ 2 กรณี คือ
1. ถ้างานนี้ทำคนเดียว ไม่มีสำนักงาน ไม่มีลูกจ้าง จะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(2) หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
2. ถ้างานนี้มีสำนักงาน มีลูกจ้าง ก็พอจะถือเป็นเงินได้ประเภท 40(8) ข้อ.44 ซึ่งต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร แต่กรณีที่ไม่สามารถหาบิลค่าใช้จ่ายได้จริงๆ ก็จะมี พ.ร.ก.กำหนดให้หักเป็นการเหมาได้แต่ต้องไม่เกิน 70% ซึ่งตอนยื่นแบบจะยื่นผ่านทาง Internet ไม่ได้ ต้องทำแบบด้วยมือแล้วนำยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่เท่านั้น
สำหรับการที่บุคคลธรรมดาไปซื้อสื่อของบริษัทนั้น บุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด จ่ายไปตามยอดเต็มเลยค่ะ
ข้อแนะนำ: กรณีนี้ถ้ามีเงินได้เป็นจำนวนมากๆ ควรทำในรูปบริษัทน่าจะประหยัดภาษีกว่า และไม่เสี่ยงต่อกรณีพิพาทเรื่องภาษีด้วยค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “b(บัญชี)”
บริษัทฉันทำงานรับเหมาสร้างคอนโดต่างๆ จะมีค่าของ+ค่าแรง ที่วางบิลไป ค่าแรงจะมีหัก ณ ที่จ่าย ด้วย
แต่ลูกค้าไม่ยอมเอา VAT 7% แต่ว่าจะหัก ณ ที่จ่ายเรา 3% ปัญหาคือว่า เจ้านายให้หัก ณ ที่จ่ายเป็นชื่อฉัน ฉันอยากทราบว่ามันจะมีผลดี หรือ ผลเสีย อะไรมั้ยค่ะ
คำตอบ:
บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ต้องออก VAT ทั้งค่าของและค่าแรงด้วย และต้องหัก 3% จากยอดรวมค่าของ+ค่าแรง (ยอดก่อนVAT)
จากคำถามว่า เจ้านายให้หัก ณ ที่จ่ายเป็นชื่อคุณนั้น ถ้าคุณยอม ก็เตรียมตัวพบกับสรรพากรได้เลย เพราะต้องถือเป็นรายได้ของคุณ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย มีแต่ผลเสียอย่างเดียวจริงๆค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “พัชรี”
กรณีดิฉันเป็นบุคคลธรรมดา นำรถไปรับจ้างรับ-ส่ง พนักงานตามบริษัทต่าง ๆ และทางบริษัทได้หักภาษี ณ ที่จ่าย กับดิฉันตอนจ่ายเงินทุกเดือน ดิฉันก็นำใบหัก ณ ที่จ่าย ไปยื่น ภาษี ภงด.94 กลางปี และ ภงด.90 ตอนสิ้นปีแล้ว หากดิฉันไปจ้างบุคคลธรรมดา ให้นำรถมาวิ่งร่วมอีกที ดิฉันควรทำอย่างไรคะ
คำตอบ:
กรณีนี้เราผู้รับจ้างเป็นบุคคลธรรมดา การเสียภาษีเงินได้ฯ เราก็หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา 80% อยู่แล้ว การที่เราจ่ายเงินให้บุคคลที่มาวิ่งร่วมนั้น ก็คงจะนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกไม่ได้อยู่แล้วค่ะ
นอกเสียจากทำหลักฐานการจ่ายเงินให้เขาเซ็นรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานว่าเราได้จ่ายเงินและเขาได้รับเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้นเองค่ะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “หยก”
ตอนนี้ผมประกอบอาชีพเป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นอิสระ ซึ่งนำขึ้นไปขายบน App Store ของบริษัท Apple และ Google Play Store ของบริษัท Google ซึ่งรายได้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนดังนี้ครับ
1. รายได้จากการขายแอพ(Paid App) ส่วนนี้ผู้ที่ดาวโหลดจะต้องจ่ายเงินผ่านทางบริษัท Apple
2. รายได้จากค่าโมษณาที่ติดตั้งลงในบนแอพที่แจกฟรี(Free App) ในส่วนนี้คนที่ดาวโหลดไปติดตั้งใช้งานไม่เสียเงิน แต่บริษัทผู้โมษณาได้แก่ บริษัท Apple และ Google จะเป็นผู้จ่ายให้เราตามสัดส่วนการคลิกโมษณาของผู้ใช้งาน
โดยที่รายได้ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวถูกโอนเข้ามาจากอเมริกาทุกเดือน
คำถามของผมก็คือจะต้องเสียภาษีรายได้พึงประเมินตามมาตราใดครับ
ขอบคุณมากครับ
คำตอบ:
จากคำถาม น่าจะทำในนามบุคคลธรรมดา ดังนั้นจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(มาตรา56) แยกเป็นรายได้ดังนี้
1. รายได้ส่วนขายแอพนี้ถือเป็นรายได้ประเภท 40(3) ซึ่งรายได้ส่วนนี้ ถ้าเป็นค่าสิทธิ์ทั่วไปจะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย แต่ถ้าคุณได้จดลิขสิทธิ์ไว้ ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท
2. รายได้จากส่วนแบ่งการคลิกโฆษณานี้ ถือเป็นรายได้ประเภท 40(2) ค่านายหน้า ส่วนนี้ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท เช่นกันค่ะ
แบบที่ต้องยื่น คือ ภ.ง.ด.90 สำหรับรายได้ทั้งปีภาษี ยื่นภายใน 31 มีค. ของปีถัดไปนะคะ
ถาม-ตอบ ปัญหาบัญชีภาษีอากร จากคุณ “พาวินี”
ถ้าหากเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว เปิดร้านใหม่ จะต้องเสียภาษีอะไร แล้วต้องไปแจ้งสรรพากรหรือไม่
คำตอบ:
การเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวใหม่ ภาษีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1. ภาษีป้าย กรณีที่มีการติดป้ายชื่อร้าน ซึ่งจะเสียที่เทศบาล หรือ อ.บ.ต.
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการประเมินรายได้ของตนเอง แล้วยื่นแบบ
– ภ.ง.ด.94 สำหรับรายได้ครึ่งปี คือ มค.-มิย. ซึ่งต้องยื่นภายในเดือน กย. (รายได้เกิน 3 หมื่นกรณีโสด และรายได้เกิน 6 หมื่นกรณีสมรส)
– ภ.ง.ด.90 สำหรับรายได้ทั้งปี คือ มค.-ธค. ต้องยื่นภายใน มีค.ของปีถัดไปในแบบที่ยื่นภาษี ให้ใช้เลขบัตรประชาชนกรอก
ไม่ต้องไปแจ้งสรรพากรค่ะ