นายซื้อที่ดิน 1 แปลง แต่ให้ใช้ชื่อลูก 2 คน เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น ต่อมาได้มีผู้ติดต่อขอเช่าที่ดิ
คำตอบ:
นายซื้อที่ดิน 1 แปลง แต่ให้ใช้ชื่อลูก 2 คน เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น
ต่อมาได้มีผู้ติดต่อขอเช่าที่ดินแปลงดังกล่าว อยากทราบว่า
1. ทำสัญญาใช้ชื่อ 2 ชื่อ ค่าเช่าจ่ายให้ปีละ 1 ครั้งให้ผู้เช่าจ่ายเช็ค 2 ใบ และ หัก
ณ ที่จ่าย 2 ใบแยกเป็นของแต่ละคน ได้หรือไม่ เนื่องจาก
แต่ละคนสามารถหักค่าลดหย่อนไม่เท่ากัน
กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกันทำสัญญาให้เช่าที่ดิน เงินได้ที่ได้รับถือเป็น
เงินได้พึงประเมินที่ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามคณะบุคคล
การยื่นแบบแสดงรายการจึง
ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในนามของคณะบุคคล
ไม่อาจที่จะแยกยื่นแบบแสดงรายการในนาม
ของแต่ละบุคคลได้ ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
(อ้างอิงจาก กค 0811/05429)
2. กรณีภาษีโรงเรือนที่ผู้เช่าเป็นผู้ชำระแทน
เราจะถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ เพราะอะไร
เนื่องจากเรามิได้รับเงินแต่ต้องจ่ายเข้าเขตฯ
เนื่องจากผู้ให้เช่ามีรายได้จากการเช่าจึงถือเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนจากเงิน
ได้ดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
การเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนดังกล่าวจากผู้เช่าตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
ค่าภาษีโรงเรือนที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้เช่า
จึงเข้าลักษณะเป็นเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน
ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
3. สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 15% แต่ถ้าเรามีค่าใช้จริงที่เกิดขึ้น เช่น
ค่าพนักงานคอยตรวจสอบสถานที่ๆ ให้เช่า และ มีใบเสร็จ ฯลฯ ตามที่จ่ายจริง
เราสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จริงได้หรือไม่ และไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้
ขอบคุณค่ะ
การขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักตามจริง)
สำหรับเงินได้ประเภทที่ 5 มาข้างต้นนั้น
รายจ่ายที่จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นค่าใช้จ่ายตามปกติ
มีความเกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจแต่ละประเภทหรือต่อเงินได้แต่ละชนิด (เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าดูแลรักษาสถานที่ ฯลฯ)
โดยใช้หลักเกณฑ์เหมือนนิติบุคคล
(2) เป็นจำนวนที่สมควรและเหมาะสมแก่กิจการ
(3) ไม่เป็นรายจ่ายที่กฎหมายห้ามมิให้หักเป็นรายจ่าย
(4) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการหักใช้จ่ายพร้อม
ที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้
อนึ่งสรรพากรไม่ได้กำหนดเพดานในการหักไว้
แต่ขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น