บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งเดือนมกราคม 2559 ทุนจดทะเบียน 3,000,000 บาท มีกรรมการจำนวน 1 คน (สัญชาติอเมริกัน) มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ โดยถือหุ้นในบริษัทจำนวน 15,300 หุ้น จากหุ้นทั้งหมด 30,000 หุ้น หรือคิดเป็น 51% ของหุ้นทั้งหมด โดยผู้ถือหุ้นทั้งหมดมิใช่สัญชาติไทย
บริษัทได้รับความคุ้มครองสนธิสัญญาทางไมตรี และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทย และสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2511 ในการประกอบธุรกิจตามบัญชี 3(21) แห่งราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การทำธุรกิจบริการ ดังนี้
บริหาร จัดการ ส่งเสริมการตลาดในสื่อข้อมูลรูปแบบดิจิตอล
ให้บริการผลิต หรือสร้างข้อมูลบันเทิงในรูปแบบดิจิตอล หรือรูปแบบใด ๆ รวมถึงรวบรวมการเผยแพร่ข้อมูลดิจิตอลดังกล่าว
ถาม
1. บริษัทมีทุนจดทะเบียน 3.000.000 บาท ถือเป็นธุรกิจ SME หรือเปล่าค่ะ
2. ก่อนเริ่มดำเนินงาน บริษัทต้องจัดทำหนังสือแจ้งรายละเอียดขออนุญาตประกอบธูรกิจตามบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนใช่มั้ยค่ะ / ถ้ายังไม่มีการแจ้งขออนุญาตประกอบธุรกิจ แล้วดำเนินงาน มีความผิดหรือเปล่าค่ะ
3. คาดว่าปีถัดไปบริษัทจะมีรายได้ต่อปีเกิน 1,800,000 บาท บริษัทต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ค่ะ
4. ถ้าบริษัทมีการดำเนินงาน มีการจัดจ้างพนักงานเข้าทำงาน แต่ไม่มีการนำส่ง ภงด.1 และประกันสังคมเลยตั้งแต่เริ่มดำเนินงานมา บริษัทจะโดนอะไรบ้างค่ะ
5. ถ้าบริษัทจะมาหักภาษี ภงด.1 ย้อนหลังจากพนักงาน เพื่อนำส่งอย่างนี้ได้มั้ยค่ะ หรือพนักงานต้องจ่ายภาษีในคราวเดียวตอนนำส่ง ภงด.91
6. พนักงานรับเงินเดือนเต็มจำนวน โดยไม่มีการหักภาษี ภงด.1 และนำส่งประกันสังคมเลย อย่างนี้พนักงานจะมีปัญหาเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องนำส่งในแต่ละปีมั้ยค่ะ และสรรพากรจะทราบได้อย่างไรว่าพนักงานแต่ละคนมีรายได้ต่อปีเท่าไหร่ มีการประกอบอาชีพจริง ไม่ได้ว่างงานค่ะ
7. บริษัทต้องจัดทำ ภงด.50, 51 งบการเงินและนำส่ง โดยการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เหมือนบริษัทอื่นทั่วไปใช่มั้ยค่ะ
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
คำตอบ:
1. พิจารณาจากทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทและรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทครับ
2. แนะนำว่าให้สอบถามสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดโดยตรงจะดีกว่าครับ
3. ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ซึ่งหากคาดว่าจะมีรายรับเกินค่อนข้างแน่ ควรจดทะเบียนแต่เนิ่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการขอคืนภาษีซื้อ (ประเด็นนี้สำนักงานเรามีบริการวางแผนภาษีอากรสำหรับเคสนี้ให้ครับ)4. มีเบี้ยปรับตามกฎหมายครับ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3, 53)
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือนเงินสมทบประกันสังคม
– ขั้นต่ำ 1,650 X 5% = 83 บาท/เดือน
– ขั้นสูง 15,000 X 5% = 750 บาท/เดือน
เบี้ยปรับ ชำระในอัตรา 2% ต่อเดือน5. สามารถหักย้อนหลังได้ แต่การยื่นแบบจะมีค่าปรับตามตางรางข้างต้นครับแต่หากไม่ดำเนินการหัก เมื่อพนักงานยื่นแบบเสียภาษีตอนสิ้นปีจะต้องเสียภาษีทั้งจำนวนในคราวเดียวตาม ภงด 91
6. สำหรับตัวพนักงานไม่มีปัญหาครับ ความรับผิดในการไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นของผู้จ่ายเงิน (บริษัทครับ) สำหรับการตรวจสอบเงินได้นั้น สรรพากรจะตรวจสอบย้อนระหว่าง การยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายกับแบบ ภงด 91 ของแต่ละคนครับ
7. ใช่ครับ