1.จ่ายเงินเบี้ยปรับส่งงานล่าช้า ลงเป็นอะไรค่ะ
2.รับเงินคืนจากเงินเบี้ยปรับส่งงานล่าช้า ลงเป็นอะไรค่ะ
(บจ.ทำกิจการรับเหมาประมูลงานก่อสร้างถนน ดั้งนั้น จะมีการเสียค่าปรับในเรื่องของงานล่าช้าจะเสียค่าปรับไปก่อนและเมืองานเสร็จ สมบูรณ์สมารถที่จะทำเรื่องคืนเงินได้ เลยอยากทราบว่า รายการ ที่ 1และ 2 ตอนออกงบการเงิน สามารที่จะนำมาหักกลบกันได้หรือไม่ หรือ ไม่จำเป็นที่จะต้องลงรายได้ค่ะ )
คำถามที่ 2
ปี 255 ทางบจ.ได้มีการตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเงินเพิ่มเบี้ยปรับจำนวน 13,000,000 บาท ตามใบตรวจรับงาน แต่เมือถึงกำหนดดรับเงินได้มีการทำการเรือ่งเบิกเงิน และ ทางสำนักงานเขตได้ปรับทาง บจ. จำนวนเงิน 250,000 บาท
1 ปี 2556 จะบันทึกบญชีอย่างไร และ ส่วนที่บันทึกเกินจะทำอย่างไร
2.จะมีผลกระทบต่องบการเงินปี 255 หรือไม่ค่ะ
3.และต้องแก้ไขอย่างไร
4.มีผลกระทบต่อผู็สอบหรือไม่ (เพราะผู็สอบไม่ตรวจทานความถูกต้องของข้อมูล )
ขอบคุณค่ะ
คำตอบ:
สำหรับคำถามแรกขอตอบโดยอ้างอิงจาก NPAE ย่อหน้า 366 และ 367 นะครับ
ค่าเบี้ยปรับส่งงานล่าช้าถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสัญญาก่อสร้าง เช่นเดียวกับเงินชดเชยค่าปรับส่งงานล่าช้าที่ได้รับคืนซึ่งถือเป็นรายได้ ดังนั้นทั้ง 2 รายการจะรับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายได้ต่อเมื่อ เข้าเงื่อนไขคือ
1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (เช่น โดยข้อสัญญาตามกฎหมายที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากิจการมีภาระต้องจ่ายปรับกรณี ใด และกิจการมีสิทธิได้รับชดเชยคืนได้ในกรณีใดบ้าง)
2. สามารถประมาณมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ (ซึ่งพิจารณาจากอัตราในสัญญาได้เช่นกัน)
ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว รายการทั้งสองควรบันทึกเป็นรายได้ และค่าใช้จ่าย (ต้นทุนงานก่อสร้าง) เพราะว่า อาจมีค่าปรับรายการที่ไม่สามารถเรียกคืนได้
สำหรับอีกประเด็นที่ถามว่า ตอนออกงบการเงินสามารถนำรายการดังกล่าวมาหักกลบกันได้หรือไม่นั้น สำนักงานขอเรียนว่า ไม่สามารถทำได้ครับ เนื่องจากตามข้อกำหนดเรื่องการนำเสนองบการเงิน (NPAE ย่อหน้า 35) ไม่อนุญาตให้นำรายได้-ค่าใช้จ่ายมาหักกลบกันซึ่ง มาตรฐานเรื่องสัญญาก่อสร้างไม่อนุญาตให้ทำได้สำหรับคำถามข้อที่ 2 นั้น อ้างอิงจากคำถามข้อแรก คือ ในปี 2555 ค่าปรับจำนวน 13 ล้านบาทก็ควรถือเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับปี 2555 ไป แต่ปี 2556 กิจการได้รับเงินชดเชยคือส่วนใหญ่ (13 ล้าน – 250,000) 12.75 ล้านบาทควรถือเป็นรายได้ และอีก 250,000 บาทถือเป็นค่าปรับ (ค่าใช้จ่าย) สำหรับปี 2556 ไปครับ เสมือนหนึ่งว่า ความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับเงินชดเชยเกิดขึ้นในปี 2556 จึงถือจำนวนดังกล่าวเป็นรายได้ในปี 2556 ครับ (เนื่องจากบางกรณีเงินชดเชยค่าปรับที่ได้รับคืนนั้น อาจไม่ได้รับคืนจริงตามสัญญา จึงควรบันทึกค่าปรับเป็นค่าใช้จ่ายไปก่อน แต่ค่าชดเชยค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นความเป็นไปได้ที่จะได้รับคืนยังไม่แน่จน กว่าจะสิ้นสุดสัญญาครับ)
ดังนั้น สำหรับกรณีนี้ คงไม่มีผลกระทบต่องบการเงินปี 2555 ครับ
รายการสำหรับปี 2556 จึงได้แก่Dr. ลูกหนี้สำนักงานเขต 12,750,000
Cr. รายได้ 12,750,000สำหรับประเด็นภาษีนั้น จำนวนค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
หวังว่าคำตอบคงจะพอเป็นประโยชน์นะครับ