สัญญาเช่า (Leasing)
• สัญญาเช่าที่นำมาบันทึกเป็นทรัพย์สินนั้น เรียกว่า สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease)
• สัญญาเช่าที่ไม่นำมาบันทึกเป็นทรัพย์สิน เรียกว่า สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease)
ถ้าสัญญานั้น เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ให้บันทึกสัญญาเช่านั้นเป็นทรัพย์สิน
- สัญญาระบุว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ในปีสุดท้ายของการเช่า หรือมีสิทธิ์เลือกซื้อทรัพย์สินนั้นในราคาพิเศษ (Bargain Purchase Option – BPO)
- สัญญาเช่ามีอายุ ≥ 80% ของอายุทรัพย์สินนั้น
- ค่างวด หรือค่าเช่า เมื่อคิดมูลค่าปัจจุบัน แล้วรวม ≥ 90% ของราคาทรัพย์สินนั้น
จากตัวอย่างที่ 4
การบันทึกสัญญาเช่า ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า (ให้ถือปฏิบัติ 1 ม.ค. 51)
• ให้บันทึกดอกเบี้ยจ่ายด้วยวิธีลดต้นลดดอก (เหมือนธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินกู้) ซึ่งจะใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) ในการคำนวณดอกเบี้ยจ่าย (ในสัญญาเช่าจะมีระบุไว้) แล้วจึงบันทึกจ่ายเป็นงวดๆ ตามงวดที่ผ่อนชำระ
• ไม่ใช่ บันทึกตั้งดอกเบี้ยทั้งหมด เป็นดอกเบี้ยรอตัดจ่าย และตัดจ่ายด้วยวิธีเส้นตรงอีกต่อไปแล้ว
การหักค่าเสื่อมราคา
• เครื่องถ่ายเอกสาร ให้หักค่าเสื่อมราคาได้ตามปกติ ( พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145)
• ค่าซากให้ประมาณการว่าหลังจากใช้ไป 5 ปีแล้ว มูลค่าซากจะเหลือเท่าไร ? อย่าใส่แค่ 1 บาท (เช่นที่เคยทำกันมา)
• ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ ค่าเสื่อมราคาจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระในรอบบัญชีนั้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.3/2527)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีซื้อให้นำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ตามปกติ
มูลค่าคงเหลือของทรัพย์สิน (ค่าซาก)
มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ปรับปรุง 2552) (ให้ถือปฏิบัติ 1 ม.ค.54)
• ให้ทบทวนมูลค่าคงเหลือ (ค่าซาก) และอายุการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน อย่างน้อยทุกสิ้นรอบบัญชี
• ในทางปฏิบัติ จะทบทวนสำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าคงเหลือ ที่มีนัยสำคัญเท่านั้น