การขายและเช่ากลับ (Sale & Lease back)
หมายถึง การขายทรัพย์สินให้กับบริษัทไฟแนนซ์ และมีการเช่ากลับทันที
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การที่บริษัทนำทรัพย์สินไปทำรีไฟแนนซ์ (Refinance) กับสถาบันการเงินนั่นเอง ซึ่งจะมีวิธีการดังนี้
ขั้นตอนในการบันทึกบัญชี
ขั้นตอนที่ 1. บันทึกขายทรัพย์สินให้บริษัทไฟแนนซ์ก่อน
• โดยการับรู้กำไร (ขาดทุน) จากการทรัพย์สิน จะขึ้นอยู่กับชนิดของสัญญาเช่ากลับ
• ถ้าเป็นสัญญาเช่าทางการเงิน ให้ตั้งพักกำไร(ขาดทุน)จากการขายทรัพย์สิน และตัดจ่ายตลอดอายุสัญญาเช่า
• ถ้าเป็นสัญญาเช่าดำเนินการ ให้บันทึกรับรู้กำไร(ขาดทุน)จากการขายทรัพย์สิน ในงบกำไร(ขาดทุน)ทันที
ขั้นตอนที่ 2. บันทึกการเช่าซื้อกลับ ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า (ให้ถือปฏิบัติ 1 ม.ค. 51)
• โดยจะบันทึกดอกเบี้ยจ่ายด้วยวิธีลดต้นลดดอก (เหมือนธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินกู้) ซึ่งจะใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate)
ในการคำนวณดอกเบี้ยจ่าย (ในสัญญาเช่าซื้อจะมีระบุไว้) แล้วจึงบันทึกจ่ายเป็นงวดๆ ตามงวดที่ผ่อนชำระ
• ไม่ใช่ บันทึกตั้งดอกเบี้ยทั้งหมด เป็นดอกเบี้ยรอตัดจ่าย และตัดจ่ายด้วยวิธีเส้นตรงอีกต่อไปแล้ว
จากตัวอย่างที่ 1.
การหักค่าเสื่อมราคา
• รถยนต์นั่ง ให้หักค่าเสื่อมราคาได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท (มาตรา 65 ตรี(20))
• ค่าซากให้ประมาณการว่าหลังจากใช้ไป 5 ปีแล้ว มูลค่าซากจะเหลือเท่าไร ? อย่าใส่แค่ 1 บาท (เช่นที่เคยทำกันมา)
• ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ ค่าเสื่อมราคาจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระในรอบบัญชีนั้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.3/2527)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีซื้อต้องห้าม มิให้นำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา 82/5(6))
• ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่ง
• ให้นำภาษีซื้อไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน หรือรวมเป็นค่าใช้จ่าย แล้วแต่กรณี
มูลค่าคงเหลือของทรัพย์สิน (ค่าซาก)
มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ปรับปรุง 2552) (ให้ถือปฏิบัติ 1 ม.ค.54)
• ให้ทบทวนมูลค่าคงเหลือ (ค่าซาก) และอายุการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน อย่างน้อยทุกสิ้นรอบบัญชี
• ในทางปฏิบัติ จะทบทวนสำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าคงเหลือ ที่มีนัยสำคัญเท่านั้น